วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Task2’s reflection

เมื่อก่อนไม่เคยสังเกตการณ์พูดหรือการเล่าเรื่องของตัวเองเลย ว่าพูดเป็นลำดับหรือพูดต่อกันโดยไม่มีคำเชื่อมเลยบ้างหรือเปล่า ยิ่งถ้าตอนพูดหรือเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นยิ่งแล้วใหญ่ คือ คิดอะไรออกตอนนั้นก็พูดออกมาโต้งๆเลย แต่พอได้ลองทำการบ้านTask2 (การเล่าเรื่องให้สนุก) ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ แต่จะว่าไปสิ่งที่ได้รับนั้นอาจจะไม่ใช่ความรู้ใหม่แต่อย่างใด หากแต่เป็นเพียง   สิ่งเล็กน้อยที่เราไม่เคยนึกถึงเลยเวลาจะพูดหรือเล่าเรื่องใดๆ อาทิเช่น การใช้คำเชื่อม เพื่อทำให้เรื่องที่เล่าเดินไปอย่างเป็นลำดับ การพูดเกริ่นนำก่อนเข้าเรื่องหรือกระทั่งการใช้メタ言語 เพื่อเพิ่มอรรถรสโดยให้ผู้ฟังจินตนาการตามสิ่งที่เราเล่าอยู่ เป็นต้น
            จะเห็นได้ว่า การเล่าเรื่องในครั้งที่2 [Task2 (最終回)]นั้น มีพัฒนาการในการเล่าเรื่องอย่างเห็นได้ชัด ถ้าถามว่าทำไมถึงพัฒนาได้เร็วขนาดนี้ คำตอบก็มีอยู่ 2อย่างคือ
1.      เพราะว่า เมื่อเริ่ม意識กับสิ่งเล็กน้อยที่เมื่อกี้พูดถึง เช่น การใช้คำเชื่อม การพูดเกริ่นนำก่อนเข้าเรื่องหรือการใช้メタ言語 เป็นต้น เมื่อพยายาม意識แล้วลองเล่าเรื่องใหม่อีกครั้ง ผลปรากฏว่าสามารถเล่าเรื่องได้อย่างsmoothขึ้น และพอลองคิดในมุมมองของผู้ฟัง มันก็ดูเหมือนฟังง่ายขึ้นจริงๆ!
  1. หลังจากลองสังเกตเวลาที่เพื่อนคนญี่ปุ่นซึ่งเป็นnative เล่าเรื่อง ก็พบสิ่งที่เคยเรียนมาในชั่วโมงเรียนวิชา Japanese Structure2! นั่นก็คือ การใช้メタ言語 ดังนี้     「ねえ、あの韓国人のリーっていう子のこと覚えてる?昨日私、いきなりあの子に声をかけられて、何って言われたか分かる?」(アヤコ:2010
หลังจากได้เห็นการใช่ดังกล่าวนี้ เลยเกิดกระบวนเลียนแบบและนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองเวลาเล่าเรื่องบ้าง ผลที่ได้คือ สามารถเล่าเรื่องได้สนุกและเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น หลังจากได้ทำการบ้านชิ้นนี้แล้ว ทำให้ตัวเองเริ่มเป็นคนที่สังเกตภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นพูดมากยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ทำให้ตระหนักได้ว่า สิ่งที่เราในฐานะ日本語学習者สามารถทำได้ดีที่สุดคือ การเลียนแบบnative แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น