วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

My Goal - Output1

เรียกน้ำย่อยสักเล็กน้อยกับ Output1
วันนี้ไปเจอตัวอย่างการเขียนอีเมลแบบเลวมาฉบับหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยผู้เขียนบล็อกเอง! เป็นอีเมลที่เขียนสมัยตอนเรียนอยู่ปี 3 เนื้อหาเมลเขียนถึงอาจารย์ชื่อย่ออ. เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาญี่ปุ่นคณะอักษรฯเรานี่แหละครับ !
「 タイトル:先生、夜遅く すみません
こんばんは。先生

夜遅く すみません

先生、今 暇じゃないですか。

あのう、ちょっともう一回チェクしていただきたいんですが。。

お願いいたします ^^

チャトゥロ
 」

แต่ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี พอลองกลับมาอ่านอีเมลนี้ดูอีกครั้ง ทั้งๆที่ตัวเองเขียนเอง แต่กลับพบว่าเนื้อหาอีเมลนี้แปลก และไม่ค่อยสุภาพ กล่าวคือ มีการเขียนแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อ่าน
ถ้าพร้อมแล้ว ลองมาดูข้อเสียของอีเมลฉบับนี้กันครับ
1.    ไม่มีการเขียนชื่อผู้รับ(宛先) ซึ่งตอนนั้นต้องยอมรับจริงๆว่า ไม่ค่อยมีโอกาสเขียนอีเมลพูดคุยกับคนญี่ปุ่น บวกกับไม่เคยเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน จึงทำให้ไม่รู้ธรรมเนียมในการเขียนอีเมลตอบโต้กับคนญี่ปุ่น
2.    ส่วนท้ายของอีเมล น่าจะเขียนว่า 「お忙しいとは思いますが、よろしくお願いします。」 แทน เพราะดูเป็นสำนวนการพูดขอร้องที่คำนึงถึงความรู้สึกของฝ่ายตรงข้ามอย่างมีศิลปะ ทั้งนี้ ที่意識เรื่องนี้ขึ้นมาได้ เพราะว่าได้อ่านหนังสือ เก่งคีย์อีเมลญี่ปุ่น หนังสือเล่มนี้อธิบายการเขียนอีเมลและให้ตัวอย่างสำนวนการเขียน お願いのメール ไว้อย่างดีทีเดียว
3.    「先生、今 暇じゃないですか。」ประโยคนี้พอกลับมาอ่านดูอีกครั้งในวันนี้ ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้意識เลยก่อนเขียน เพราะประโยคนี้อ่านดูแล้ว เป็นประโยคที่えらそうมาก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ณ ตอนที่เขียน ผมแค่อยากจะถามว่า อาจารย์ครับ ว่างอยู่ไหมครับหรือพอจะมีเวลาสักหน่อไหมครับ เลยใช้ความสามารถที่มีอยู่ในขณะนั้นแปลประโยคนี้ออกไปตรงๆเลยจากภาษาไทย จึงได้ประโยคที่เห็นอย่างด้านบนนี่แหละครับ...แต่มาวันนี้ พอได้สะสมชั่วโมงบิน ได้เห็นอีเมลที่เพื่อนคนญี่ปุ่นส่งหากัน ได้รู้จักการสังเกตวิธีการเขียนอีเมลเวลามีคนญี่ปุ่นส่งมาหา และที่สำคัญได้เรียนวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ได้รู้จักการ意識 จึงทำให้คิดได้ว่า ประโยคแบบนี้ไม่ควรเขียนจริงๆ 「先生、今 暇じゃないですか。」
ถ้าให้ลองเขียนใหม่ ผมจะเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่ จะไม่ถามฝ่ายตรงข้ามว่าตอนนี้ว่างหรือไม่ เพราะรู้สึกว่าเป็นการเสียมารยาทและเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นมักจะไม่เขียนในอีเมล ดังนั้น ถ้าลองเขียนใหม่อีกครั้ง จะเปลี่ยนเป็น
「 タイトル:作文のチェックのお願いです。
อ.先生
こんばんは。
夜遅くにすみません。
少しお願いがありますが、先生に作文のチェックをしていただきたいと思いまして、メールを送らせていただきました。
お忙しいとは思いますが、よろしくお願いします。
チャトゥロン 」

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

V.て くださる VS V.て いただく

   V.て くださる กับ V.て いただく นั้น หากจะพูดไปคงถือว่า 2 คำนี้เป็นไม้เบื่อไม้เมา สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น(日本語学習者)เกือบทุกคน (หรืออาจจะเป็นแค่คนเขียนคนเดียว!)

   พอดีวันนี้ไปกินข้าวกับเพื่อนคนญี่ปุ่นมา แล้วโดนถามว่ารู้ไหมว่าV.て くださる กับ V.て いただく เนี่ย ใช้ต่างกันยังไง!? ก็อึ้งไปประมาณ 3วินาที แล้วหลังจากนั้นเพื่อนก็รีบบอกว่า "ไม่เป็นไร เพราะคนญี่ปุ่นเองยังคิดว่ายากเลยเรื่องนี้" พอได้ยินอย่างนั้นเลยรู้สึกดีขึ้นมานิดนึง...จากนั้นแล้วเพื่อนจึงเริ่มอธิบายแบบง่ายๆให้ฟัง ดังนี้

1. การใช้  V.て いただく มักจะใช้ตอนที่เราไปขอร้องให้อีกฝ่ายทำอะไรให้ และพอเขาทำให้เราแล้วเราจึงใช้ V.て いただく เช่น เราพูดว่า "ご説明していただきまして、ありがとうございました。" หลังจากที่เราบอกให้เขาช่วยอธิบายให้เราฟังหน่อย เป็นต้น

ในขณะที่

 2. การใช้ V.て くださる มักจะใช้ตอนที่อีกฝ่ายนึงทำอะไรบางอย่างให้เราเอง โดยที่เรายังไม่ได้เอ่ยปากขอร้อง (ไม่ใช่ว่าเขาสาระแน นะจ๊ะ 555) เช่น ตอนที่เรากำลังทำหน้าครุ่นคิดอยู่ว่าเมื่อวานที่ร้านได้กำไรเท่าไร และตอนนั้นเองอีกฝ่ายก็ช่วยตอบขึ้นมาให้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่เรายังไม่ได้ขอร้อง จากนั้นเราจึงพูดกลับไปว่า "まだ聞いていないですが" เอ้ย ไม่ใช่! 555                                เราจึงพูดกลับไปว่า  "教えてくださって、ありがとうございました。" เป็นต้น

   ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ยกตัวอย่างมาด้านบนนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้อาจจะแตกต่างกันออกไปอีกตามสถานการณ์ก็เป็นได้ แต่ที่ยกตัวอย่างมาด้านบน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการใช้ที่น่าสนใจเลยทีเดียวสำหรับพวกเรา(日本語学習者)
    " สิ่งที่เขียนไว้ด้านบนนั้นเป็นสิ่งที่ออกมาจากปากของ Native เอง ซึ่งแปลว่าไม่ว่ามันจะถูกหรือผิดแต่อย่างน้อยที่สุดก็เป็น感覚 ของคนญี่ปุ่นในการใช้  V.て くださる กับ V.て いただく จริงๆ"

   พอผมฟังเรื่องนี้จบ ก็เกิดคำถามขึ้นมาข้อหนึ่ง คือ ตอนอยู่ญี่ปุ่น ผมขึ้นรถไฟบ่อยและผมก็ได้ยินคนขับรถไฟพูดบ่อยเหมือนกัน ทั้ง "ご乗車いただきまして、ありがとうございます"และ "ご乗車くださって、ありがとうございます"  แต่ถ้าถามว่า ระหว่างสองคำนี้ ได้ยินคำไหนบ่อยกว่ากัน? ผมก็สามารถตอบได้ทันทีเลยว่า ได้ยิน "ご乗車いただきまして、ありがとうございます" บ่อยกว่า

   ซึ่งมาถึงตรงนี้ แน่นอนว่าปัญหาเกิดแล้ว เพราะที่เมื่อกี้คนญี่ปุ่นอธิบายให้ฟัง เขาบอกไว้ว่า "การใช้  V.て いただく มักจะใช้ตอนที่เราไปขอร้องให้อีกฝ่ายทำอะไรให้ และพอเขาทำให้เราแล้วเราจึงใช้ V.て いただく" ส่วน "การใช้ V.て くださる มักจะใช้ตอนที่อีกฝ่ายนึงทำอะไรบางอย่างให้เราเอง โดยที่เรายังไม่ได้เอ่ยปากขอร้อง"
   ฉะนั้นแล้ว พอลองประมวลผลและ意識ดูแล้ว ในกรณีนี้ ไม่ว่ายังไงก็ควรใช้ "ご乗車くださって、ありがとうございます" ไม่ใช่เหรอ!? เพราะผู้โดยสารมาขึ้นรถไฟกันเอง โดยที่คนขับยังไม่ทันไปขอร้องอะไรเลย  แต่ทำไมตอนอยู่ญี่ปุ่นกลับไม่ค่อยได้ยินเลย!? และเมื่อลองถามคำถามนี้กับเพื่อนคนญีป่นแล้ว ปรากฏว่าคำตอบที่ได้คือ "ก็คนญี่ปุ่นใช้ผิดไง จริงๆแล้วควรใช้ "ご乗車くださって、ありがとうございます" น่าจะถูกต้องกว่า" ........ พอได้ฟังคำตอบนั้นผมก็ได้แต่พูดว่า "อ๋อ อย่างงี้นี่เอง" เท่านั้น เพราะอีกฝ่ายเป็น Native เราไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากฟังและทำความเข้าใจ พอฟังจบผมจึง意識 และรวบรวมลมหายใจแล้วพูดออกไปว่า "ご説明していただきまして、ありがとうございました!"

「イケメン」と「ハンサム」の違い!

   เชื่อว่าหลายคนคงเคยคิดสงสัยเหมือนผมว่า ไอคำว่า 「イケメン」กับ「ハンサム」เนี่ย มันต่างกันยังไง!? ถ้าเป็นคนที่ไม่คิดอะไรมากเหมือนผม ก็คงคิดว่า 2คำนี้มีความหมายเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่ คำว่า「イケメン」เป็นภาษาวัยรุ่นและเป็นคำที่เพิ่งเกิดได้ไม่นาน ในขณะที่คำว่า「ハンサム」เป็นคำที่มีและใช้กันมานานแล้วและไม่ได้เป็นภาษาวัยรุ่นแต่อย่างใด

   บังเอิญได้ดูรายการญี่ปุ่นที่กำลังdiscussion ถึงเรื่องนี้พอดี (จริงๆแล้วมีเพื่อนแนะนำให้ดูเลยได้ดูตอนนี้พอดี) พอดูแล้วรู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้ดู เพราะทำให้จากนี้ไป จะสามารถชมผู้ชายญี่ปุ่นได้อย่างเหมาะสมขึ้น! 555  เอ้ย...ไม่ใช่! เพราะดูแล้วทำให้เข้าใจความคิดของคนญี่ปุ่นเรื่องการใช้คำว่า「イケメン」และ「ハンサム」 โดยในรายการเขาให้คนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งทำแบบสอบถาม โดยคำถามคือให้ดูรูปดาราชายแล้วตอบว่าคนนี้「イケメン」หรือ「ハンサム」?

   ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าตกใจมาก เนื่องจากคนทำแบบสอบถามเกือบ 100% ตอบตรงกันว่า "ถ้าเป็นดาราวัยรุ่นที่อายุน้อยๆจนถึงอายุประมาณ34 ปี จะชมว่าเป็น「イケメン」! ในขณะที่ดาราที่อายุตั้งแต่35 ปีขึ้นไป เวลาจะชม จะชมว่า「ハンサム」!"  (Oh my god!)

   พอดูรายการนี้จบเลยทำให้意識ได้อย่างหนึ่งว่า หลังจากนี้เวลาจะชมผู้ชายญี่ปุ่นควรคำนึงถึงเรื่องอายุด้วย ไม่ใช่ว่าเจอผู้ชายหน้าตาดีก็ชมว่า「イケメン」ไปซะหมด ฉะนั้นแล้วจากนี้ไปเวลาจะชมอาจารย์อิไวต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม จึงควรใช้คำชมให้เหมาะสม นั่นคือ........................................................ (ควรใช้คำไหนนั้น แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคนครับ)

Task3_志望理由書(最終回)

東京学芸大学の大学院教育学研究科
私は、タイのチュラーロンコーン大学日本語専攻を卒業しましたチャトゥロン・タンマジンダーと申します。

今まで様々な授業を受けましたが、そのなかで最も興味をもっているのは日本語の文法の授業です。しかし、日本語の文法を沢山学びましたが、助詞の「は」と「が」の使い方がよく分かりませんでした。それがきっかけで、それについてより深く学びたいと思うようになりました。そのために、タイで学ぶだけでは、常に日本人と会話することが少なく、十分な研究ができないので、実際に日本人の会話を観察しながら、日本語を学びたいと思っています。その上に、日本人に囲まれている環境は、日常会話のなかで、「助詞」が自然に使われていることが多く、充実した研究生活を送ることができると思っています

貴大学の資料を拝見したところ、講義と実施見学を組み合わせた授業を多く開講していると書かれていました。貴大学は、教育学が有名と聞いていました。さらに、貴大学の大学院教育学研究科が特に有名であるとお聞きし、機会があれば貴大学の大学院教育学研究科に進学できればと思っています

私の将来の夢は、日本語教師になることですが、もしできれば、自分が学んだ日本語と日本文化をタイ人の生徒に伝えたいと思っています。また、タイの教育の発展に少しでも貢献できたらと思っています。
以上の理由で、貴大学の大学院プログラムに応募しまし
チャトゥロン・タンマジンダー

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

MY RUBRIC

My Rubric

1. นำอีเมลเก่ามาสังเกตและวิเคราะห์ว่า มีภาษาญี่ปุ่นที่แปลกหรือไม่เป็นธรรมชาติหรือไม่ อย่างไร โดยนำมาเปรียบเทียบกับอีเมลที่เขียนขึ้นใหม่หลังจากทำการ 気づき และ 意識 แล้ว ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

2. นำอีเมลเก่ามาสังเกตและวิเคราะห์ว่า มีเนื้อหาหรือมีคำพูดที่อาจจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกลำบากใจหรือไม่ อย่างไร

3. เน้นการสังเกตอีเมลของคนญี่ปุ่น เช่น ศึกษาจากอีเมลที่คนญี่ปุ่นส่งมาหาหรืออีเมลที่คนญี่ปุ่นส่งหากัน เป็นต้น โดยเน้นการสังเกตระดับภาษาและสำนวนที่ใช้

4. สังเกตคำศัพท์และสำนวนใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน แล้วหาข้อมูลเพิ่มเติม ฝึกใช้จนจำได้และสามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วยตนเอง

MY GOAL

สามารถเขียนE-mail โต้ตอบกับคนญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรมชาติและไม่เขียนอะไรที่อาจจะเป็นการเสียมารยาทหรือทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วลำบากใจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ระดับภาษาได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเวลาคุยกับคนที่อาวุโสกว่าหรือคนไม่ค่อยสนิทสนม

ของสมนาคุณจากการทำ タスクนี้(志望理由書)

志望理由書の一般的な流れ
簡単な自己紹介(今までの経歴など)

 どんなことをしたいか、何になりたいか(将来の夢)

以上を踏まえて、どうして志望したか、その理由。

合格後の志(どんな研究がしたいか、どんな研究生活を送りたいか)
※もし、博士課程に進みたいと考えているのでしたら、そのことも書いておいたほうが良いです。
こんな感じで書けば良いと思います。
しかし、ひとつ書いておいた方が良いと思います。それは他大の大学院を受験する場合には、どうして自分の大学の大学院に行かずに他大の大学院を受験するのかが重要になります。 この理由も自分なりに整理しておいて書いておいたほうが良いですね。もちろん面接の時にも聞かれると思います。(http://blog.injuken.com/archives/50441751.html

    ไปเจอเว็บไซต์ที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับการเขียน 志望理由書 เห็นว่าน่าสนใจดีและมันอาจจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคนี้ จึงนำมาอ้างอิง แต่เหนือสิ่งอื่นใด หลังจากอ่านเว็บไซต์นี้จบแล้ว มีเรื่องดีๆเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกภูมิใจในตัวเอง นั่นก็คือ ตามคำแนะนำของผู้เขียนเว็บไซต์ด้านบน เขาบอกว่า หากเป็นการสมัครเรียนปริญญาโทที่ไม่ใช่สถาบันเดียวกับปริญญาตรี ก็ควรจะเขียนเหตุผลให้ชัดเจนว่าทำไมถึงไม่เรียนต่อที่สถาบันเดิม แต่กลับมาสมัครที่มหาวิทยาลัยอื่น
 ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราเขียนเอาไว้อยู่แล้วใน 志望理由書(2nd) โดยยังไม่เคยอ่านเว็บไซต์นี้มาก่อน
                "「そのために、タイで学ぶだけでは、実際に使われている助詞のある会話が少なく、十分な研究ができないため、実際に使われている日本語のある会話を観察しながら、日本語を学びたいと思っています。その上に、日本人に囲まれている環境は、日常会話のなかで「助詞」が自然に使われていることが多く、充実した研究生活を送ることができると思っています。」" 
จึงทำให้รู้สึกว่า "ความภูมิใจตรงนี้ถึงแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ทำให้คนคนหนึ่งมีกำลังใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นต่อไป และยังเป็นกำลังใจให้รู้สึกอยากเขียน志望理由書 จริงๆในอนาคต ถึงแม้ว่าเนื้อหาที่เขียนใน 志望理由書(2nd) นั้นจะผิดมากน้อยยังไงก็ตาม"

志望理由書’s Reflection

        หลังจากทำการบ้านชิ้นนี้ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเขียนจดหมายสมัครเรียนต่อและเป็นประโยชน์ในชีวิตจริงอย่างมาก เป็นอะไรที่นำไปใช้ได้จริง เมื่อลองนำการเขียนครั้งแรก[志望理由書(1st )] มาเปรียบเทียบกับการเขียนครั้งที่2[志望理由書(2nd)] จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นและมีศิลปะในการเขียนมากยิ่งขึ้น คือ
1.       ใช้วิธีการเขียนแบบถ่อมตัว คือไม่เขียนแบบเอาตัวผู้เขียนเป็นจุดศูนย์กลาง แต่เลือกเขียนแบบให้ผู้อ่านเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งประวัติผู้เขียนและสิ่งที่ผู้เขียนสนใจเป็นแบบนี้ คุณสมบัติจะเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของผู้อ่าน เห็นได้จากตรง 貴大学の資料を拝見したところ、講義と実施見学を組み合わせた授業を多く開講していると書かれていました。
แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีพูดถ่อมตัวแบบผู้เขียนอย่างชัดเจน
2.       มีการอธิบายสิ่งที่อยากศึกษาเป็นรูปธรรมชัดเจน ไม่ใช่แค่พูดเหตุผลเลื่อนลอย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านเข้าใจวัตถุประสงค์ในการศึกษาของผู้เขียนได้ง่ายยิ่งขึ้น สังเกตได้จากตรง しかし、日本語の文法を沢山学びましたが、助詞の「は」と「が」の使い方がよく分かりませんでした。それがきっかけで、助詞の「は」と「が」の使い方というテーマについて、より深く学びたいと思っています。

志望理由書(2nd)

東京学芸大学の大学院教育学研究科
私は、2010年にタイのチュラーロンコーン大学日本語専攻を卒業しましたチャトゥロン・タンマジンダーと申します。


今まで様々な授業を受けましたが、そのなかで最も興味をもっているのは日本語の文法の授業です。しかし、日本語の文法を沢山学びましたが、助詞の「は」と「が」の使い方がよく分かりませんでした。それがきっかけで、助詞の「は」と「が」の使い方というテーマについて、より深く学びたいと思うようになりました。そのために、タイで学ぶだけでは、常に日本人と会話することが少なく、十分な研究ができないので、実際に使われている日本語のある会話を観察しながら、日本語を学びたいと思っています。その上に、日本人に囲まれている環境は、日常会話のなかで「助詞」が自然に使われていることが多く、充実した研究生活を送ることができると思っています

貴大学の資料を拝見したところ、講義と実施見学を組み合わせた授業を多く開講していると書かれていました。また貴大学は、教育学が有名と聞いていました。貴大学の大学院教育学研究科が特に有名であるとお聞きし、機会があれば貴大学の大学院教育学研究科に進学できればと思っています
私の将来の夢は、日本語教師になることですが、もしできれば、自分が学んだ日本語と日本文化をタイ人の生徒に伝えたいと思っています。また、タイの教育の発展に少しでも貢献できたらと思っています。
以上の理由で、貴大学の大学院プログラムに応募しまし
チャトゥロン・タンマジンダー