วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

My Goal - Output6

เมื่อเสร็จการเรียนรู้ภาคทฤษฎีแล้ว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด เราต้องต่อด้วยการลงมือปฏิบัติจริง และแน่นอนครับว่าตอนนั้นที่อ่านเมลพวกนี้แล้ว เจอจุดร่วมที่ชัดเจนขนาดนี้ มันเกิดกระบวนการจำไปเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็แค่ต้อง意識ทุกครั้งเวลาจะเขียน และเพื่อไม่ให้เสียเวลาลองมาดูหลักฐานที่บอกว่าตอนนั้นผม意識 จริงๆน้า \(^_^)/
1.      ฉบับแรกเป็นเมลที่ส่งกลับให้คุณ鈴木
鈴木さん
新年明けましておめでとうございます!
昨年こちらこそありがとうございました。

今年も鈴木さん
にとっても素敵な一年になりますように。
今年もよろしくお願いします~(^・^)

ティー

2.      ฉบับนี้ส่งให้คุณ石橋
石橋さん

明けましておめでとうございます!
昨年たいへんお世話になりました。

今年も石橋さん
にとって素晴らしい一年になりますように。
今年もよろしくお願いします(^・^)

ティー

3.      ฉบับนี้ส่งหาเพื่อนชื่อりょうた
りょうた~
 
明けましておめでとうございます!
 
今年もりょうたにとって素晴らしい一年になりますように。
今年もよろしくね~(^・^)
 
ティー

จะเห็นได้ว่าการสังเกต และการ意識 เป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆในการเรียนรู้ เพราะถ้าไม่สังเกต ความรู้ใหม่ก็คงไม่เกิด และถ้าไม่意識 ก็คงไม่สามารถใช้ความรู้ใหม่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ ชั่วโมงบินและการฝึกทำซ้ำๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการเรียนรู้ ฉะนั้น ถ้าเราหมั่นฝึกฝนและให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แล้ว ผมเชื่อครับ ทุกคนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้ ไม่ช้าก็เร็ว

My Goal - Input5

            คราวนี้ลองมาย้อนอดีตกลับไปสักประมาณ 2เดือนที่แล้ว ประมาณช่วงวันปีใหม่ หลายคนคงมีการส่งจดหมายหรือส่งเมลอวยพรปีใหม่ให้เพื่อนและคนรู้จักมากมาย ช่วงนั้นผมก็มีโอกาสได้ส่งและได้รับ年賀状 รวมทั้งอีเมลจากเพื่อนคนไทยและเพื่อนคนญี่ปุ่นหลายฉบับทีเดียว ซึ่งในบรรดาอีเมลอวยพรปีใหม่ที่ได้รับจากคนญี่ปุ่นนั้น พอลองมาสังเกตดีๆแล้ว มันมีจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกัน กล่าวคือ มันมีpattern การพูดอวยพรที่เขานิยมใช้กัน ซึ่งพอได้อ่านแล้ว ก็เช่นเคยครับ ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น ถ้าอย่างนั้น ลองมาดูอีเมลทีละฉบับกันดีกว่าครับ ว่ามีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง
1.    ฉบับแรก ของคุณ鈴木

明けましておめでとうございます!
ティーム先生、新年明けましておめでとうございます!
昨年は大変お世話になりました。
今年がティーム先生にとって素晴らしい一年になりますように祈っています。
今年もよろしくお願いします(^-^)鈴木

            อ่านอีเมลฉบับนี้แล้ว มี 2 จุดครับที่ผมติดใจคือ
1.    「昨年は大変お世話になりました。」เป็นสำนวนบังคับในการเขียน年賀状ก็ว่าได้ สำหรับในกรณีที่ผู้รับมีบุญคุณหรือเคยทำอะไรให้ผู้ส่งในช่วงปีที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นคงถือเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง เพราะถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วคนไทยเราไม่มีธรรมเนียมการเขียนขอบคุณแบบคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เรามักเขียนกันแค่คำอวยพรเท่านั้น แต่แน่นอนครับว่า เราในฐานะผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียมารยาทหรือเพื่อทำให้ผู้อ่านสบายใจ เราก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน เวลาส่ง年賀状ให้คนญี่ปุ่น
2.    การใช้「~にとって」พูดตามตรงว่าเมื่อก่อนไม่เคยเห็นและไม่เคยใช้รูปแบบการเขียนอวยพรแบบนี้เลย!(หรืออาจจะเคยเห็นแต่ไม่เคยสังเกตมาก่อน…(>,<)) แต่มาครั้งนี้ได้รับเมลจากเพื่อนหลายคนเลยทำให้ได้เห็นชัดเจนเลยว่าคนญี่ปุ่นชอบใช้ 「~にとって」กันมากในกรณีนี้
ถ้าอย่างนั้นลองมาดูหลักฐานกันดีกว่าครับ ว่าคนญี่ปุ่นชอบใช้กันมากขนาดไหน

2.1  ฉบับนี้ได้จากเพื่อนในชมรม ชื่อ なまちゃん(เป็นชื่อในวงการ 555)
あけおめ!
 
2010年は本当にお世話になりました!
2011年、ティームにとっても素晴らしい一年でありますように( ´)
 
俺もティームに会いたいよ~!(ノД`)
今年もよろしくね!
 
なま


2.2  ฉบับนี้ได้มาจากเพื่อนชื่อ りょうた
happy new year2011!
   あけましておめでとう!!
   今年もよろしく!
   ティーム
にとってもいい年になりますように!^0^

       Ryota

2.3  ฉบับสุดท้ายนี้ ได้มาจากนักเรียนที่ผมเคยสอนภาษาไทยตอนอยู่โอซาก้า
謹賀新年☆
あけましておめでとうございます。
 
昨年は、大変お世話になりました。
ティーム先生
にとっても素敵な一年になりますように。
また、お父様のお体が良くなりますように。
 
今年もよろしくお願いします。
 
竹中 愛

            อ่านจบทั้งสามเมลแล้ว ถ้าลองสังเกตดีๆ ชื่อเรื่องที่แต่ละคนส่งมาไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะของคนสุดท้าย謹賀新年☆ เป็นคำที่ผมไม่เคยเห็นอีกแล้วครับท่านผู้ชม!ผมเลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมา แต่คราวนี้ใช้วิธีไปถามเพื่อนคนญี่ปุ่นดูว่า謹賀新年☆ คืออะไรแล้วต่างกับ 明けましておめでとうございますยังไง? ปรากฏว่าคำตอบที่ได้คือ มันก็เหมือนกันทั้งสองคำแหละ แต่謹賀新年☆ เป็นทางการและสุภาพกว่า จะใช้กับผู้ที่อาวุโสกว่าหรือใช้เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้รับ จะเห็นได้ว่าทั้งสามอีเมลนี้ มีทั้งจุดร่วมและจุดต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนจริงๆครับท่านผู้ชม

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

My Goal - Output6

          วันนี้พอกลับมานั่งคุ้ยอีเมลดูอีกรอบ ปรากฏว่าเจออีเมลอีกฉบับที่ส่งหาคุณ鈴木(นักเรียนที่เป็นผู้ชาย แต่เมื่อก่อนเคยเป็นผู้หญิง) คือได้รับอีเมลของเขาที่มีการใช้ とのこと ก่อน แล้วผมก็ส่งกลับ เนื่องจากตอนนั้นความรู้ยังร้อนเลยลองใช้คำนี้เองเลย โดยเขียนอยู่ในเมลที่ส่งให้ทั้งคุณ鈴木และคุณ石橋(เจ้าหน้าที่ที่รร.TLS) ซึ่งเมลที่ส่งให้คุณ石橋 อยู่ในMy Goal – Input4 แล้ว
ด้านล่างนี้เป็นเมลที่คุณ鈴木 ส่งมาหาผม
ティーム先生

学校の方はいかがですか?
楽しんでいらっしゃるとのことで、とても良かったです!
私の方は、先日傷を縫合していた糸を抜糸して、風呂に入れるようになり、だいぶ楽になりました。日本は寒くなってもうすぐ雪が降るので風呂に入ると暖まります。
先生、実はタイでの仕事の件、まだ生活にも慣れていないことや、言葉も話せず、また私の母も病気で日本にいなければならず、色々と後藤さんとも考えた末に今回は白紙に戻すことにしました。残念ですがまた体制を整えてチャレンジしたいと思います。
それで、もしお願い出来たら借りているコンドミニアムのオーナーさんに1月一杯で解約したいと電話で伝えて頂きたいのですが、お願い出来ますか?
最後に、先生は彼氏は出来ましたか
鈴木

            ส่วนด้านล่างนี้เป็นเมลที่ผมตอบกลับไป และได้ลองใช้ とのこと ไปด้วย(><)
鈴木さん
学校はいろいろと大変ですが、まだ楽しんでいます!
 
鈴木さんの傷はだいぶ良くなり、楽になったとのことで、良かったですね。
ボクは安心しました。
タイでのお仕事の方は、とても残念ですが、仕方がないですね。
もし鈴木さんはタイに来られる時や、タイでお仕事が出来るようになった時など、是非ボクにご連絡してください。
コンドミニアムのことですが、1月一杯で解約したいというのは、12月の終わりまでお部屋を借りたいということでしょうかね? それで、ボクはそのことをお部屋のオーナーさんに電話しましょうか?
しかし、電話番号を知りませんので、教えていただけませんか?
あとは、もしそのオーナーさんにお伝えになりたいことがありましたら、ボクに教えてくださいね。
 
最後にタイに来られたとき、またお会いできるといいですね。
日本はかなり寒くなってきたらしいですね。お体にお気をつけてください。
 
Ps.彼氏はまだ出来てないです!(T_T)
 
ティー

          ตอนที่ส่งไปก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใช้ とのことถูกหรือผิด แต่รู้แค่อย่างเดียวว่า อยากลองใช้                  เพราะถ้าเราคิดกันแต่ กลัวใช้ผิด ไม่กล้าใช้ แล้วเมื่อไรเราจะใช้เป็น? ฉะนั้น ผมยังคงเชื่อมั่นในความคิดเดิมว่า การเลียนแบบNative แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตัวเองที่สุด เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีมากอีกวิธีหนึ่งครับ

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

My Goal - Input4

           หลังจากได้รับคำชมจากคุณ 石橋ไปเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว(ในOut put4) ก็ลองมานั่งหาอี   เมลเก่าๆที่เคยเขียนในช่วงนั้นดู เพราะจำได้ว่าตอนนั้นเป็นช่วงที่เพิ่งกลับมาจากจากญี่ปุ่นใหม่ๆเลยมีการเขียนอีเมลพูดคุยกับคนญี่ปุ่นค่อนข้างเยอะ พอหาไปหามาก็เจออีเมลชุดหนึ่ง เป็นอีเมลที่ผมคุยกับคนญี่ปุ่นชื่อคุณ 鈴木เป็นคนที่เคยเรียนภาษาไทยกับผมตอนเดือนตุลาปีที่แล้ว(เพิ่งกลับมาจากโอซาก้า) และที่สำคัญเขาเป็นผู้ชายนะครับตอนนี้...แค่เคยเป็นผู้หญิงมาก่อน!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!(>_<) เหตุผลที่ชอบและมาไทยบ่อยๆก็เพราะ.......ต้องการมาเพิ่มอวัยวะ  「笑」
และพอเขากลับญี่ปุ่นไป เขาก็ส่งอีเมลมาทักทายตามด้านล่างนี้ครับ
ティーム先生

タイでは大変お世話になりました鈴木です。
お変わりないですか?
私はだいぶ傷のほうも良くなり、やっと普通の生活が出来るようになりました。
タイは暑いですか?日本は寒くなってきて、我が家では暖房が必要になりました(^-^)
 
鈴木

        จากนั้นผมจึงตอบเมลกลับไปครับว่า
鈴木さん
 
ご連絡ありがとうございます。
傷が良くなり、不自由の無い生活ができるようになってよかったですね(^^)
 
ボクは今学校で楽しんでいます。学校は始まったばかりで、宿題とかがまだ少ないので・・・ 笑
今タイは意外と涼しくなってきたんです!
先週から日本の秋のような天気を迎えましたので、すごく快適です^^
 
鈴木さんは最近お忙しいでしょうか?
そちらはだいぶ寒くなってきたらしいですね。お体にお気をつけてくださいね。
では。
 
ティー

และพอผ่านไป2-3 วัน เขาก็ส่งอีเมลตอบกลับมาว่า
ティーム先生

学校の方はいかがですか?
楽しんでいらっしゃるとのことで、とても良かったです!
私の方は、先日傷を縫合していた糸を抜糸して、風呂に入れるようになり、だいぶ楽になりました。日本は寒くなってもうすぐ雪が降るので風呂に入ると暖まります。
先生、実はタイでの仕事の件、まだ生活にも慣れていないことや、言葉も話せず、また私の母も病気で日本にいなければならず、色々と後藤さんとも考えた末に今回は白紙に戻すことにしました。残念ですがまた体制を整えてチャレンジしたいと思います。
それで、もしお願い出来たら借りているコンドミニアムのオーナーさんに1月一杯で解約したいと電話で伝えて頂きたいのですが、お願い出来ますか?
最後に、先生は彼氏は出来ましたか
鈴木

          พอได้อ่านอีเมลข้างบนที่เขาตอบมาแล้ว ก็ไปสะดุดกับคำๆหนึ่ง ที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนในตอนนั้น คำนั้นคือคำว่า 「とのこと」พอเจออย่างนี้แล้วเลยทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่า ไอคำนี้มันแปลว่าอะไรกันแน่? จึงทำการหาข้อมูลเพิ่มเติม ในที่สุดก็เจอ
「とのこと」とは 、人から聞いた話であることを表す。という。だそう。
ก็เลยทำให้ได้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเข้าคลังอีกหนึ่งคำ (^_^) การเจอศัพท์ใหม่แล้วไปหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง มันทำให้จำศัพท์คำนั้นได้แม่นยำจริงๆ และในตอนนั้นเป็นช่วงที่ความรู้ใหม่ยังร้อนๆอยู่ เลยเอาคำว่า「とのこと」ไปลองใช้จริง ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ผมคุยกับคุณ 石橋 (ในOutput4) เลยเหมือนมีโอกาสได้ใช้จริงในสนามรบ
การเลียนแบบNative แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับตัวเองนั้นถือเป็นการเรียนรู้ชั้นดีสำหรับผมจริงๆ เพราะมันไม่ได้เป็นแค่ การเพิ่มคำศัพท์ใหม่ให้กับตัวเองเท่านั้น แต่มันยังเป็นการบอกหรือแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่า เราไม่ได้หยุดอยู่กับที่นะแม้จะต้องลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้งก็ตามเพราะยังไม่รู้วิธีใช้ และเป็นไปได้ว่านี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมได้รับคำชมจากคนญี่ปุ่น(ในOutput4และ5) (^o^)/
                และอีเมลด้านล่างนี้ เป็นอีเมลที่คุยกับคุณ石橋(เป็นภาคต่อจากOutput4)ซึ่งผมลองใช้คำว่า 「とのこと」ดูครับ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าใช้ถูกหรือผิดกันแน่  (T_T) \(^-^)

石橋さん
 
こんにちは。
そんなことないです!
ボクの日本語はまだまだです。
 タイに来られる予定が決定したとのことで、とてもうれしいです!
ボクは日曜日と平日の夕方が空いているので、お会いしましょう!?
平日はサイアムの辺りにいると思いますが、
まだ予定のない日がありましたら、サイアムの観光はいかがでしょうか?
また、「ルンピニ・ナイト・バザー」も、その近くにあるのです。
ホテルはどちらにあるでしょうかね?ボクは聞いたことがないです!
 
おみやげのリクエストは、まだ思いつかないので、思いついたらまたご連絡させていただきます!
わざわざ聞いていただき、どうもありがとうございます(^^)
 
こちらこそよろしくお願いします。
 
ティー